ความสำคัญของคอนกรีต

1.ความสำคัญของคอนกรีต บทนำ                 เนื่องจากปัจจุบันคอนกรีตมีสำคัญกับงานก่อสร้างซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศ     เมื่อเปรียบเทียบวัสดุก่อสร้างที่ใช้งานในประเภทเดียวกัน เช่น ไม้  ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างหลักในสมัยก่อนและปัจจุบันไม้เป็นของหายาก พบว่า คอนกรีตมีความคงทน  แข็งแรง  สามารถปรับปรุงส่วนผสมเพื่อให้ตรงกับการใช้งานได้อย่างเหมาะสม  คอนกรีตจึงเป็นวัสดุที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย 2.หลักการ คอนกรีต เป็นวัสดุผสมที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (เช่น หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ โดยอาจจะมีสารเคมีเติมเพิ่มเข้าไปสำหรับคุณสมบัติด้านอื่น เมื่อผสมเสร็จคอนกรีตจะแข็งตัวอย่างช้าๆ ซึ่งน้ำและซีเมนต์จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกันในลักษณะที่เรียกว่าการไฮเดรชัน โดยซีเมนต์จะเริ่มจับตัวกับวัสดุอื่นและแข็งตัว ซึ่งในสถานะนี้จะนิยมเรียกกันว่าคอนกรีต ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหลังจากที่ผสม และยังแข็งแรงขึ้นภายหลังจากการแข็งตัว โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจะเริ่มคงที่ คอนกรีตมีใช้กันในงานก่อสร้างหลายชนิด ซึ่งรวมถึง อาคาร ถนน เขื่อน สะพาน อนุสาวรีย์ และงานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งมีเห็นได้ทั่วไป คุณสมบัติหลักของคอนกรีตคือการรับแรงอัดสูง ในขณะที่สามารถรับแรงดึงได้ต่ำ (ประมาณ 10% ของแรงอัด) โดยเมื่อต้องการให้คอนกรีตสามารถรับแรงดึง จะมีการเสริมวัสดุอื่นเพิ่มเข้าไปในคอนกรีตโดยจะเรียกว่า คอนกรีตเสริมแรง หรือคอนกรีตเสริมเหล็กที่เรียกกัน (โดยเสริมแรงด้วยเหล็ก) วัสดุเหล่านี้จะช่วยรับแรงดึงภายในคอนกรีต ซึ่งงานโครงสร้างอาคารส่วนใหญ่นิยมใช้คอนกรีตเสริมแรงแทนที่คอนกรีตเปลือย นอกจากนี้ในงานก่อสร้างยังมีการใช้วิธีการที่เรียกว่า คอนกรีตอัดแรง โดยทำการใส่แรงเข้าไปในคอนกรีตหล่อสำเร็จที่ หล่อมาจากโรงงาน โดยเมื่อนำไปใช้งาน แรงที่ใส่เข้าไปในคอนกรีตจะหักล้างกับน้ำหนักของตัวคอนกรีตเองและน้ำหนักที่ เพิ่มขึ้นมา ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้คอนกรีตสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มมากขึ้น โดยงานสะพานและทางยกระดับ นิยมใช้คอนกรีตอัดแรงคอนกรีต จะมีสัดส่วนปูนซีเมนต์ต่อทราย ต่อหิน ดังนี้ สัดส่วน 1 : 1.5 :…

การใช้เศษโฟมเก่าในคอนกรีตบล็อกประดับ

ปัจจุบันในประเทศไทยมีเศษโฟมเก่าเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาทางมลภาวะที่สำคัญของประเทศ หาก สามารถนำเศษโฟมเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่ จะเป็นการลดปริมาณขยะลงได้ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการนำเศษโฟมเก่ามาผสมกับ คอนกรีตแทนที่มวลรวมหยาบและมวลรวมละเอียด ในการทำคอนกรีตบล็อกประดับ จากผลการวิจัยการผลิตคอนกรีตบล็อกประดับ ปรากฏว่าได้อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ ปูนซีเมนต์ : ทราย : โฟม เท่ากับ 1:0.5:4 และ อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ 0.5 ความดันประมาณ 275 กก/ซม2 จะได้ความหนาแน่น ประมาณ 1400 กก/ม3 ผล การทดสอบที่อายุ 28 วัน ปรากฏว่า ได้ค่ากำลังอัดเฉลี่ยเท่ากับ 58.92 กก/ซม2 ความหนาแน่นเฉลี่ยเท่ากับ 1416.5 กก/ม3 ค่าการดูดซึมน้ำเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 7.73 และใช้ความดันในการอัดขึ้นรูปที่ 275 กก/ซม2 ผลการทดสอบการนำความร้อน ได้ค่า การนำความร้อนเท่ากับ 0.0367 วัตต์/เมตร.เคลวิน และ ค่าความต้านทานความร้อนเท่ากับ 27.24 เมตร.เคลวิน/วัตต์ จากผลการวิจัยสรุปคุณสมบัติของคอนกรีตบล็อกประดับได้ว่า เป็นวัสดุก่อสร้างผนังที่มีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนัก ได้…

คอนกรีต 5 ประเภท รู้ไว้ใช่ว่า

“คอนกรีต” หรือที่คนภายนอกวงการก่อสร้างว่า “ปูน” เป็นวัสดุที่ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จึงทำให้ทุกวันนี้มีคอนกรีตมากมายหลายประเภท ความรู้ด้านคอนกรีตเป็นสาขาหนึ่งที่เรียกว่า “Concrete Technology” ซึ่งผู้เรียนเป็นวิศวกรโยธาต้องศึกษาเพื่อนำมาใช้งาน การจะใช้งานคอนกรีตต้องทำให้อยู่ในสภาพเหลว (โดยการผสมน้ำ) เพื่อที่จะได้เทลงในแบบหล่อให้เป็นรูปร่างต่างๆ เมื่อแข็งตัวและแกะแบบหล่อออกก็สามารถใช้เป็นโครงสร้างรับแรงตามที่วิศวกรออกแบบ และเมื่อนำเหล็กซึ่งรับแรงอัดและแรงดึงได้มากมาประกอบกัน ก็จะได้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้งานได้ตามต้องการ การที่คอนกรีตแบ่งได้หลายประเภทเนื่องจาก “ผงซีเมนต์” ที่เป็นส่วนผสมหนึ่งของคอนกรีตได้ถูกผลิตขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์หรือประโยชน์ใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งทั่วไปมีถึง 5 ประเภท เรียกเป็นซีเมนต์ประเภท 1, ประเภท 2 จนถึงประเภท 5 5 ประเภทคอนกรีตเหมาะกับงานแบบไหน โดยซีเมนต์ที่ใช้ทำคอนกรีตโครงสร้างทั่วไปคือประเภท 1 ซีเมนต์ประเภท 3 หรือซีเมนต์ประเภท 5 คือ ซีเมนต์สำหรับโครงสร้างที่ต้องการให้มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง เช่น โครงสร้างที่อยู่ใกล้ทะเลหรือโครงสร้างที่อยู่ในทะเล รวมถึงโครงสร้างที่จมอยู่ในน้ำ ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้ต้องสามารถทนการกัดกร่อนได้สูง นี่คือตัวอย่างของซีเมนต์ที่ถูกแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ให้ตรงกับการใช้งาน แต่ยังมีซีเมนต์อีกประเภทหนึ่งที่ไม่เหมาะกับการใช้ทำโครงสร้างเนื่องจากให้กำลังอัดที่ต่ำ แต่ถูกผลิตขึ้นมาให้เหมาะสำหรับทำงานก่อฉาบเท่านั้น ดังนั้นซีเมนต์ที่ขายทั่วไปตามร้านขายวัสดุก่อสร้างมักจะมีเพียง 2 ประเภท คือซีเมนต์ประเภท 1 (Portland Cement) สำหรับงานโครงสร้าง และอีกประเภทที่สำหรับใช้ทำงานก่อฉาบ ผมขอยกตัวอย่างให้ท่านผู้อ่านได้ทราบ…

คอนกรีตผสมเสร็จ คือ

คอนกรีต คือ วัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการก่อสร้าง อาคาร และ สาธารณุปโภค ต่างๆ ตั้งแต่ ขนาดใหญ่ จนถึง ขนาดเล็ก เช่น อาคาร บ้านเรือน สะพาน และ เขื่อน ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสม 2 ส่วนคือ วัดสุประสาน ได้แก่ ปูนซีเมนต์และน้ำ ผสมกับ วัสดุผสม ได้แก่ ทราย หิน หรือ กรวด และสารผสมเพิ่มต่างๆ เมื่อนำมาผสมกันจะคงสภาพเหลวอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งนานพอที่จะนำไปเทลงในแบบหล่อที่มีรูปร่างตามต้องการ เมื่อคอนกรีตแข็งตัวเต็มที่แล้ว จะมีความแข็งแรงและสามารถรับน้ำหนักได้มาก ทั้งนี้จะแปรไปตามอายุของคอนกรีต ที่เพิ่มขึ้น ช่วงที่วัสดุต่างๆผสมกันจะคงสภาพเหลวอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง เราเรียกคอนกรีตช่วงนี้ว่า คอนกรีตสด (Fresh concrete)หลังจากเทเข้าแบบคอนกรีตจะเริ่มก่อตัวและแข็งตัวขึ้นตามลำดับจนถึงสภาพที่ใช้งานได้ โดยในช่วงของการก่อตัวและแข็งตัว แล้ว เราเรียกว่าคอนกรีตแข็งตัว (Hardened concrete) คอนกรีต โดยทั่วไปประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ น้ำ มวลรวม และ สารผสมเพิ่ม…