การเทคอนกรีตทับหน้า และขั้นตอนการเทคอนกรีตทับหน้าแบบ

การเทคอนกรีตทับหน้า คือการเทคอนกรีตทับหน้าพื้นคอนกรีตเดิมที่มีอยู่ โดยมักใช้ซ่อมแซมผิวหน้าคอนกรีตเดิมที่มีความเสียหายหรือสึกกร่อน หรือต้องการปรับปรุงผิวหน้าพื้นเดิมให้แข็งแกร่งขึ้น โดยรูปแบบการเทคอนกรีตทับหน้านิยมทำกันมี 3 แบบ 1. การเทคอนกรีตทับแบบเชื่อมประสานสมบูรณ์ เป็นการเททับหลังจากกระเทาะผิวเดิม ทำความสะอาดผิว และทาวัสดุเลื่อมประสาน โดยการใช้วัสดุเชื่อมประสานจะทำให้คอนกรีตที่เทใหม่เชื่อมกับพื้นเดิมได้ดี ก่อนที่จะเทคอนกรีตทับหน้าตามลงไป รูปแบบนี้ความหนาของคอนกรีตต่ำสุดที่เทได้ 2.5 – 5 เซนติเมตร โดยพื้นเดิมต้องอยู่ในสภาพดี สะอาด ไม่มีรอยแตกร้าว การเทคอนกรีตที่มีความหนาต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตรมีโอกาสเกิดการแตกร้าว การโก่ง และหลุดร่อนของชั้นเททับหน้า เพราะโดยทั่วไปการเทคอนกรีตทับหน้าที่มีความหนาน้อยจะใช้คอนกรีตที่ผสมหินขนาดเล็กกว่า 10 มิลลิเมตร ใส่ปริมาณทรายที่มากกว่าปกติ ทำให้ใช้น้ำในการผสมที่มากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดการหกตัวของคอนกรีต มากกว่าคอนกรีตปกติที่ใช้หินขนาดใหญ่และใส่ทราบในส่วนผสมน้อย 2. การเทคอนกรีตทับหน้าแบบเชื่อมประสานบางส่วน เป็นการเทบนพื้นที่ทำความสะอาดแล้ว แต่ไม่ได้กระเทาะผิวเดิมก่อนทาวัสดุเชื่อมประสาน และเทคอนกรีตลงไป การเททับหน้าแบบเชื่อมประสานบางส่วน ความหนาต่ำสุดของการเททับหน้าอยู่ที่ 10 เซนติเมตร พื้นเดิมจะต้องสามารถทำหน้าที่เป็นชั้นรองของวัสดุเททับหน้าเป็นอย่างดี ไม่มีการแตกร้าว จึงจะสามารถใช้การเททับหน้าวิธีนี้ได้ 3. การเทคอนกรีตทับหน้าแบบไม่เชื่อมประสาน เป็นการเททับหน้าโดยมีการปูวัสดุบนพื้นเดิมก่อนเทคอนกรีตใหม่ลงไป วัสดุที่ปูจะทำให้พื้มเดิมกับคอนกรีตที่เททับหน้าใหม่ไม่ประสานติดกัน การเททับหน้าวิธีนี้มักใช้พื้นคอนกรีตเดิมที่อยู่ในสภาพที่ไม่ดี เช่น มีรอยแตกร้าวต่าง ๆ เป็นต้น…