“กำลังอัดคอนกรีต” ก่อนสั่ง-ก่อนซื้อคอนกรีต เช็คให้ดีก่อน

ปัจจุบัน คอนกรีตผสมเสร็จ ถูกจัดอยู่ในวัสดุที่เป็นองค์ประกอบหลักของงานก่อสร้างในประเทศไทย เพราะไม่ว่าจะก่อสร้างบ้านอาคารประเภทใดก็ตาม ล้วนต้องมีเจ้าตัวคอนกรีตผสมเสร็จอยู่ในกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งอยู่เสมอ เช่น เทคาน เทเสา เทพื้น หรือแม้แต่ดาดฟ้า แล้วพี่ๆ เคยได้ยินไหมกับประโยคที่ว่า “สั่งคอนกรีตกำลังเท่าไร?” หากใครทำงานเกี่ยววงการก่อสร้างก็คงจะคุ้นหูคุ้นตากันอยู่ประจำใช่ไหมคะ แล้ว “กำลังคอนกรีต” มันคืออะไรกันครับเนี่ย.. ? กำลังคอนกรีต หมายถึง ความสามารถในการรับกำลังของคอนกรีตผสมเสร็จ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท นั่นก็คือกำลังอัดของคอนกรีตรูปทรงกระบอก (Cylinder)  และกำลังอัดคอนกรีตรูปทรงลูกบาศก์ (Cube) ซึ่งในประเทศไทยใช้กำลังอัดของคอนกรีต “รูปทรงกระบอก” เป็นมาตรฐานในการออกแบบนะจ๊ะ ขอบคุณภาพจาก engfanatic.tumcivil.com ตัวเลข 240 / 280 / 300 ksc บ่งบอกถึงอะไร ? ยิ่งอ่านยิ่งงง ยิ่งปวดหัว เดี๋ยว YELLO วัสดุก่อสร้างจะยกตัวอย่างให้พี่ ๆ ได้เข้าใจง่ายขึ้นนะ ksc ย่อมาจาก kilogram square centimetre. หรือก็คือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรนั่นเอง โดยปกติแล้ว “กำลังคอนกรีต” ที่เราใช้กันเป็นมาตรฐานก็คือกำลังคอนกรีตที่…

“ปูนซีเมนต์” กับความแตกต่างแต่ละประเภท

หากพูดถึง ปูนซีเมนต์ แล้ว แน่นอนว่าคนที่อยู่ในวงการก่อสร้างส่วนใหญ่มักรู้จักและคุ้นเคยกันดี เพราะปูนซีเมนต์ถือเป็นหัวใจสำคัญในการก่อสร้าง โดยเฉพาะงานก่อสร้างด้านโครงสร้างต่างๆ เนื่องจากเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีความทนทานแข็งแรง และได้รับความนิยมในทุกๆ งานก่อสร้าง ซึ่งบทความนี้เราจะมาดูกันว่าปูนซีเมนต์แต่ละประเภทมีความแตกต่างในแง่ของการใช้งานอย่างไรบ้าง ปูนมอตาร์และปูนสำเร็จรูป ปูนประเภทนี้จะมีส่วนผสมของหินบดละเอียด ปูนซีเมนต์ และสารผสมพิเศษสำหรับการผลิต โดยจะมีการควบคุมสัดส่วนการใช้ส่วนผสม คุณภาพของวัตถุดิบให้มีความเป็นมาตรฐาน สม่ำเสมอ และได้คุณสมบัติที่เหมาะสมกับการนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความสะดวกในการใช้งานเป็นอย่างดี เพราะผู้ใช้สามารถนำผลิตภัณฑ์ปูนมอร์ตาร์ไปผสมกับน้ำในปริมาณสัดส่วนที่กำหนดไว้ ก็สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้ส่วนผสมอื่น ๆ เพิ่มเติม นอกจากนี้ปูนมอตาร์ยังมีการแบ่งประเภทตามการใช้งานที่หลากหลาย อย่างเช่น การใช้งานฉาบทั่วไป งานก่อทั่วไป งานฉาบละเอียด งานปรับระดับพื้นผิว รวมไปถึงงานซ่อมแซมต่าง ๆ และอีกมากมาย ซึ่งผู้ใช้ก็ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ปูนมอตาร์ให้เหมาะกับงานประเภทนั้น ๆ ด้วย เพื่อสามารถใช้งานอย่างถูกต้องและไม่เกิดปัญหาในภายหลัง ปูนซีเมนต์ ประเภทก่อ-ฉาบ-เท ปูนประเภทนี้จะมีกำลังอัดต่ำกว่าปูนซีเมนต์ระเภทปอร์ตแลด์ ทำให้ไม่เหมาะแก่การนำมาใข้งานก่อสร้างด้านโครงสร้างอย่าง เสา คาน พื้น ที่ต้องรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคารในส่วนต่าง ๆ แต่ในทางกลับกันปูนประเภทนี้สามารถนำมาใช้ในงานก่อ-ฉาบ-เท ได้อย่างดีมีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัติในการใช้งานเฉพาะทางนั้น ๆ อย่างเช่น งานก่อ จะใช้ปูนซีเมนต์ผสม (Mix Cement) ที่มีคุณสมบัติเหนียว…

คอนกรีตผสมเสร็จ vs ผสมปูนเอง แบบไหนคุ้มค่า แข็งแรง

ในปัจจุบันนี้คอนกรีตมีความสำคัญกับงานก่อสร้างค่อนข้างมากพอสมควร เมื่อเปรียบเทียบวัสดุก่อสร้างที่ใช้งานในประเภทเดียวกัน เช่น ไม้ ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างหลักในสมัยก่อนและปัจจุบันไม้เป็นของหายาก พบว่า คอนกรีตมีความคงทน แข็งแรง สามารถปรับปรุงส่วนผสมเพื่อให้ตรงกับการใช้งานได้อย่างเหมาะสม คอนกรีตจึงเป็นวัสดุที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าจะเลือกใช้สูตรไหน ระหว่างคอนกรีตผสมเสร็จ หรือ ผสมปูนใช้เอง คอนกรีต คืออะไร คอนกรีต เป็นวัสดุผสมที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (เช่น หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ โดยอาจจะมีสารเคมีเติมเพิ่มเข้าไปสำหรับคุณสมบัติด้านอื่น เมื่อผสมเสร็จคอนกรีตจะแข็งตัวอย่างช้าๆ ซึ่งน้ำและซีเมนต์จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกันในลักษณะที่เรียกว่าการไฮเดรชัน โดยซีเมนต์จะเริ่มจับตัวกับวัสดุอื่นและแข็งตัว ซึ่งในสถานะนี้จะนิยมเรียกกันว่าคอนกรีต ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ผสม และยังแข็งแรงขึ้นภายหลังจากการแข็งตัว โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจะเริ่มคงที่ ทำไมคอนกรีต จึงแข็งแรง คอนกรีตมีใช้กันในงานก่อสร้างหลายชนิด ซึ่งรวมถึง อาคาร ถนน เขื่อน สะพาน อนุสาวรีย์ และงานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งมีเห็นได้ทั่วไป คุณสมบัติหลักของคอนกรีตคือการรับแรงอัดสูง ในขณะที่สามารถรับแรงดึงได้ต่ำ (ประมาณ…

คอนกรีตผสมเสร็จ “เทใต้น้ำ” ทำได้ไหม

คอนกรีตผสมเสร็จ จัดว่าเป็นหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่เป็นหัวใจสำคัญในงานก่อสร้างทั้งขนาดเล็กจนไปถึงใหญ่ โดยคอนกรีตผสมเสร็จทั่วไปจะมีส่วนผสมหลัก ๆ ตามธรรมชาติก็คือ หิน กรวด และทราย ผสมกับน้ำยาทางเคมีที่ทำให้มีคุณสมบัติเป็นของเหลวในช่วงเวลาหนึ่ง และเกิดการแข็งตัวเป็นโครงสร้างมีแข็งแรงตามแบบที่กำหนดไว้ การใช้งานคอนกรีตผสมเสร็จโดยทั่วไปเรามักจะคุ้นเคยกับงานก่อสร้างตามไซต์งานที่อยู่บนภาคพื้นดินอยู่บ่อยครั้ง หรือถ้าต้องการเทคอนกรีตในบริเวณที่มีน้ำขังก็จะทำการสูบน้ำออกก่อน แล้วถึงเทคอนกรีตภายหลัง แต่เชื่อว่าพี่ ๆ หลายคนคงเคยได้ยินว่า คอนกรีตผสมเสร็จ สามารถเทใต้น้ำได้ ซึ่งจะทำไปทำไม ลองตามมาดูกัน ทำไมต้องเท คอนกรีตผสมเสร็จ ในน้ำ ? อย่างที่บอกว่าโดยทั่วไปเรามักเห็นการใช้งานคอนกรีตผสมเสร็จกับงานก่อสร้างตามภาคพื้นดินที่เห็นด้วยตา ทำให้เราติดภาพและเกิดความคุ้นชินกับการใช้งานคอนกรีตในลักษณะแบบนั้น แต่จะมีงานก่อสร้างบางประเภทที่เราต้องเทคอนกรีตลงไปใต้น้ำ เพราะไม่สามารถสูบน้ำออกไปได้ หรือทำไปแล้วก็ไม่คุ้มค่า ซึ่งจะขอยกตัวอย่างง่าย ๆ เลยก็คืองานตอม่อสะพาน บางครั้งเราก็ต้องเทฐานตอม่อใต้น้ำไปแบบนั้นจริง ๆ ครับ นอกจากงานตอม่อสะพานแล้วก็ยังมีงานเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ อย่างเช่น การก่อสร้างตึกสูง หรือที่คุ้นตาอยู่เป็นประจำในตอนนี้ ก็คือการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั่นเอง ซึ่งการใช้เสาเข็มใหญ่ขนาดนี้ต้องเจาะพื้นดินไปลึกมาก ๆ จนถึงชั้นที่มีแหล่งน้ำใต้ดิน ข้อจำกัดของการเทคอนกรีตผสมเสร็จใต้น้ำ มีอะไรบ้าง ? โดยปกติการเทคอนกรีตผสมเสร็จในงานทั่วไป จะมีการเข้าไม้แบบ ผูกเหล็ก เทคอนกรีต จี้และปาดปูน แต่ถ้าต้องเทคอนกรีตใต้น้นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะเราไม่สามารถมองเห็นหรือจัดการกับคอนกรีตด้วยคนใต้น้ำได้ การตรวจสอบในจุดที่เทก็ทำได้ยาก ดังนั้งจึงต้องวางแผนและทำทุกอย่างตามประบวนการให้ถูกต้องอย่างแม่นยำ เพื่อลดปัญหาในขณะเทให้ได้มากที่สุด หากใช้คอนกรีตผสมเสร็จตามที่ใช้อยู่ทั่วไป…