คอนกรีตผสมเสร็จ “เทใต้น้ำ” ทำได้ไหม

คอนกรีตผสมเสร็จ จัดว่าเป็นหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่เป็นหัวใจสำคัญในงานก่อสร้างทั้งขนาดเล็กจนไปถึงใหญ่ โดยคอนกรีตผสมเสร็จทั่วไปจะมีส่วนผสมหลัก ๆ ตามธรรมชาติก็คือ หิน กรวด และทราย ผสมกับน้ำยาทางเคมีที่ทำให้มีคุณสมบัติเป็นของเหลวในช่วงเวลาหนึ่ง และเกิดการแข็งตัวเป็นโครงสร้างมีแข็งแรงตามแบบที่กำหนดไว้ การใช้งานคอนกรีตผสมเสร็จโดยทั่วไปเรามักจะคุ้นเคยกับงานก่อสร้างตามไซต์งานที่อยู่บนภาคพื้นดินอยู่บ่อยครั้ง หรือถ้าต้องการเทคอนกรีตในบริเวณที่มีน้ำขังก็จะทำการสูบน้ำออกก่อน แล้วถึงเทคอนกรีตภายหลัง แต่เชื่อว่าพี่ ๆ หลายคนคงเคยได้ยินว่า คอนกรีตผสมเสร็จ สามารถเทใต้น้ำได้ ซึ่งจะทำไปทำไม ลองตามมาดูกัน ทำไมต้องเท คอนกรีตผสมเสร็จ ในน้ำ ? อย่างที่บอกว่าโดยทั่วไปเรามักเห็นการใช้งานคอนกรีตผสมเสร็จกับงานก่อสร้างตามภาคพื้นดินที่เห็นด้วยตา ทำให้เราติดภาพและเกิดความคุ้นชินกับการใช้งานคอนกรีตในลักษณะแบบนั้น แต่จะมีงานก่อสร้างบางประเภทที่เราต้องเทคอนกรีตลงไปใต้น้ำ เพราะไม่สามารถสูบน้ำออกไปได้ หรือทำไปแล้วก็ไม่คุ้มค่า ซึ่งจะขอยกตัวอย่างง่าย ๆ เลยก็คืองานตอม่อสะพาน บางครั้งเราก็ต้องเทฐานตอม่อใต้น้ำไปแบบนั้นจริง ๆ ครับ นอกจากงานตอม่อสะพานแล้วก็ยังมีงานเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ อย่างเช่น การก่อสร้างตึกสูง หรือที่คุ้นตาอยู่เป็นประจำในตอนนี้ ก็คือการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั่นเอง ซึ่งการใช้เสาเข็มใหญ่ขนาดนี้ต้องเจาะพื้นดินไปลึกมาก ๆ จนถึงชั้นที่มีแหล่งน้ำใต้ดิน ข้อจำกัดของการเทคอนกรีตผสมเสร็จใต้น้ำ มีอะไรบ้าง ? โดยปกติการเทคอนกรีตผสมเสร็จในงานทั่วไป จะมีการเข้าไม้แบบ ผูกเหล็ก เทคอนกรีต จี้และปาดปูน แต่ถ้าต้องเทคอนกรีตใต้น้นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะเราไม่สามารถมองเห็นหรือจัดการกับคอนกรีตด้วยคนใต้น้ำได้ การตรวจสอบในจุดที่เทก็ทำได้ยาก ดังนั้งจึงต้องวางแผนและทำทุกอย่างตามประบวนการให้ถูกต้องอย่างแม่นยำ เพื่อลดปัญหาในขณะเทให้ได้มากที่สุด หากใช้คอนกรีตผสมเสร็จตามที่ใช้อยู่ทั่วไป…