การเทคอนกรีตทับหน้า และขั้นตอนการเทคอนกรีตทับหน้าแบบ

การเทคอนกรีตทับหน้า คือการเทคอนกรีตทับหน้าพื้นคอนกรีตเดิมที่มีอยู่ โดยมักใช้ซ่อมแซมผิวหน้าคอนกรีตเดิมที่มีความเสียหายหรือสึกกร่อน หรือต้องการปรับปรุงผิวหน้าพื้นเดิมให้แข็งแกร่งขึ้น โดยรูปแบบการเทคอนกรีตทับหน้านิยมทำกันมี 3 แบบ 1. การเทคอนกรีตทับแบบเชื่อมประสานสมบูรณ์ เป็นการเททับหลังจากกระเทาะผิวเดิม ทำความสะอาดผิว และทาวัสดุเลื่อมประสาน โดยการใช้วัสดุเชื่อมประสานจะทำให้คอนกรีตที่เทใหม่เชื่อมกับพื้นเดิมได้ดี ก่อนที่จะเทคอนกรีตทับหน้าตามลงไป รูปแบบนี้ความหนาของคอนกรีตต่ำสุดที่เทได้ 2.5 – 5 เซนติเมตร โดยพื้นเดิมต้องอยู่ในสภาพดี สะอาด ไม่มีรอยแตกร้าว การเทคอนกรีตที่มีความหนาต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตรมีโอกาสเกิดการแตกร้าว การโก่ง และหลุดร่อนของชั้นเททับหน้า เพราะโดยทั่วไปการเทคอนกรีตทับหน้าที่มีความหนาน้อยจะใช้คอนกรีตที่ผสมหินขนาดเล็กกว่า 10 มิลลิเมตร ใส่ปริมาณทรายที่มากกว่าปกติ ทำให้ใช้น้ำในการผสมที่มากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดการหกตัวของคอนกรีต มากกว่าคอนกรีตปกติที่ใช้หินขนาดใหญ่และใส่ทราบในส่วนผสมน้อย 2. การเทคอนกรีตทับหน้าแบบเชื่อมประสานบางส่วน เป็นการเทบนพื้นที่ทำความสะอาดแล้ว แต่ไม่ได้กระเทาะผิวเดิมก่อนทาวัสดุเชื่อมประสาน และเทคอนกรีตลงไป การเททับหน้าแบบเชื่อมประสานบางส่วน ความหนาต่ำสุดของการเททับหน้าอยู่ที่ 10 เซนติเมตร พื้นเดิมจะต้องสามารถทำหน้าที่เป็นชั้นรองของวัสดุเททับหน้าเป็นอย่างดี ไม่มีการแตกร้าว จึงจะสามารถใช้การเททับหน้าวิธีนี้ได้ 3. การเทคอนกรีตทับหน้าแบบไม่เชื่อมประสาน เป็นการเททับหน้าโดยมีการปูวัสดุบนพื้นเดิมก่อนเทคอนกรีตใหม่ลงไป วัสดุที่ปูจะทำให้พื้มเดิมกับคอนกรีตที่เททับหน้าใหม่ไม่ประสานติดกัน การเททับหน้าวิธีนี้มักใช้พื้นคอนกรีตเดิมที่อยู่ในสภาพที่ไม่ดี เช่น มีรอยแตกร้าวต่าง ๆ เป็นต้น…

แผ่นพื้นคอนกรีต VS พื้นหล่อในที่ เรื่องพื้น ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

หากว่ากันด้วยการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนนั้น เรื่องของโครงสร้างเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเราต้องคำนึงถึงเรื่องของ ความแข็งแรงและคงทนของตัวโครงสร้างเป็นอันดับต้น ๆ ของส่วนทั้งหมด เพราะโครงสร้างของบ้านจะเป็นตัวรับภาระน้ำหนักต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในบ้าน รวมถึงการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว หากโครงสร้างไม่ได้มาตรฐาน ก็จะมีโอกาสทำให้บ้านเกิดการเสียหาย หรือพังทลายได้ง่าย แต่กลับกันหากโครงสร้างของบ้านมีความแข็งแรง ก็จะช่วยลดการสูญเสียลงไปได้มาก พื้นบ้านจัดเป็นส่วนสำคัญอันดับต้นๆ ของโครงสร้างภายในบ้าน เนื่องจากต้องรับน้ำหนักจากแนวดิ่งโดยตรง ไม่ว่าเราจะวางสิ่งของ เครื่องใช้ รวมถึงวัสดุก่อสร้างของบ้านทั้งหลังล้วนแล้วแต่เป็นภาระของพื้นบ้านทั้งสิ้น วัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างของพื้นบ้านก็มีด้วยกันหลากหลายชนิด หนึ่งในวัสดุที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือ แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป เนื่องจากราคาแผ่นพื้นจัดอยู่ในระดับที่ไม่แพง และยังมีความแข็งแรง คุ้มค่าในการใช้งาน ไม่ต้องเสียเวลาทำไม้แบบ รวมถึงมีขนาดและความหนาให้เลือกตามการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีพื้นอีกประเภทที่นิยมใช้ไม่แพ้กัน และใช้กันมาอย่างยาวนานแล้ว นั่นก็คือพื้นหล่อคอนกรีต ซึ่งจะใช้ไม้แบบ และการผูกเหล็กในการขึ้นแบบ และใช้คอนกรีตผสมเสร็จเทไปตามแม่แบบเพื่อให้ได้รูปทรง และการรับน้ำหนักตามที่กำหนด (ต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการดูแล และคำนวณการรับน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน) หลังจากนั้นก็รอให้คอนกรีตผสมเสร็จเซ็ตตัวจนสามารถใช้งานได้ หากจะให้สรุปว่าแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป หรือพื้นหล่อคอนกรีตในที่ แบบไหนดีกว่ากัน ก็คงขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน เพราะว่าแต่ละประเภทก็มีข้อดีแตกต่างกันไป แผ่นพื้นคอนกรีต มีความสะดวก คล่องตัว ราคาประหยัด และสามารถรับน้ำหนักที่ได้มาตรฐาน แต่พื้นหล่อคอนกรีตในที่ ต้องใช้เวลาในการติดตั้ง มีราคาค่อนข้างสูง แต่มีความแข็งแรงมาก…

“กำลังอัดคอนกรีต” ก่อนสั่ง-ก่อนซื้อคอนกรีต เช็คให้ดีก่อน

ปัจจุบัน คอนกรีตผสมเสร็จ ถูกจัดอยู่ในวัสดุที่เป็นองค์ประกอบหลักของงานก่อสร้างในประเทศไทย เพราะไม่ว่าจะก่อสร้างบ้านอาคารประเภทใดก็ตาม ล้วนต้องมีเจ้าตัวคอนกรีตผสมเสร็จอยู่ในกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งอยู่เสมอ เช่น เทคาน เทเสา เทพื้น หรือแม้แต่ดาดฟ้า แล้วพี่ๆ เคยได้ยินไหมกับประโยคที่ว่า “สั่งคอนกรีตกำลังเท่าไร?” หากใครทำงานเกี่ยววงการก่อสร้างก็คงจะคุ้นหูคุ้นตากันอยู่ประจำใช่ไหมคะ แล้ว “กำลังคอนกรีต” มันคืออะไรกันครับเนี่ย.. ? กำลังคอนกรีต หมายถึง ความสามารถในการรับกำลังของคอนกรีตผสมเสร็จ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท นั่นก็คือกำลังอัดของคอนกรีตรูปทรงกระบอก (Cylinder)  และกำลังอัดคอนกรีตรูปทรงลูกบาศก์ (Cube) ซึ่งในประเทศไทยใช้กำลังอัดของคอนกรีต “รูปทรงกระบอก” เป็นมาตรฐานในการออกแบบนะจ๊ะ ขอบคุณภาพจาก engfanatic.tumcivil.com ตัวเลข 240 / 280 / 300 ksc บ่งบอกถึงอะไร ? ยิ่งอ่านยิ่งงง ยิ่งปวดหัว เดี๋ยว YELLO วัสดุก่อสร้างจะยกตัวอย่างให้พี่ ๆ ได้เข้าใจง่ายขึ้นนะ ksc ย่อมาจาก kilogram square centimetre. หรือก็คือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรนั่นเอง โดยปกติแล้ว “กำลังคอนกรีต” ที่เราใช้กันเป็นมาตรฐานก็คือกำลังคอนกรีตที่…

“ปูนซีเมนต์” กับความแตกต่างแต่ละประเภท

หากพูดถึง ปูนซีเมนต์ แล้ว แน่นอนว่าคนที่อยู่ในวงการก่อสร้างส่วนใหญ่มักรู้จักและคุ้นเคยกันดี เพราะปูนซีเมนต์ถือเป็นหัวใจสำคัญในการก่อสร้าง โดยเฉพาะงานก่อสร้างด้านโครงสร้างต่างๆ เนื่องจากเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีความทนทานแข็งแรง และได้รับความนิยมในทุกๆ งานก่อสร้าง ซึ่งบทความนี้เราจะมาดูกันว่าปูนซีเมนต์แต่ละประเภทมีความแตกต่างในแง่ของการใช้งานอย่างไรบ้าง ปูนมอตาร์และปูนสำเร็จรูป ปูนประเภทนี้จะมีส่วนผสมของหินบดละเอียด ปูนซีเมนต์ และสารผสมพิเศษสำหรับการผลิต โดยจะมีการควบคุมสัดส่วนการใช้ส่วนผสม คุณภาพของวัตถุดิบให้มีความเป็นมาตรฐาน สม่ำเสมอ และได้คุณสมบัติที่เหมาะสมกับการนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความสะดวกในการใช้งานเป็นอย่างดี เพราะผู้ใช้สามารถนำผลิตภัณฑ์ปูนมอร์ตาร์ไปผสมกับน้ำในปริมาณสัดส่วนที่กำหนดไว้ ก็สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้ส่วนผสมอื่น ๆ เพิ่มเติม นอกจากนี้ปูนมอตาร์ยังมีการแบ่งประเภทตามการใช้งานที่หลากหลาย อย่างเช่น การใช้งานฉาบทั่วไป งานก่อทั่วไป งานฉาบละเอียด งานปรับระดับพื้นผิว รวมไปถึงงานซ่อมแซมต่าง ๆ และอีกมากมาย ซึ่งผู้ใช้ก็ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ปูนมอตาร์ให้เหมาะกับงานประเภทนั้น ๆ ด้วย เพื่อสามารถใช้งานอย่างถูกต้องและไม่เกิดปัญหาในภายหลัง ปูนซีเมนต์ ประเภทก่อ-ฉาบ-เท ปูนประเภทนี้จะมีกำลังอัดต่ำกว่าปูนซีเมนต์ระเภทปอร์ตแลด์ ทำให้ไม่เหมาะแก่การนำมาใข้งานก่อสร้างด้านโครงสร้างอย่าง เสา คาน พื้น ที่ต้องรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคารในส่วนต่าง ๆ แต่ในทางกลับกันปูนประเภทนี้สามารถนำมาใช้ในงานก่อ-ฉาบ-เท ได้อย่างดีมีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัติในการใช้งานเฉพาะทางนั้น ๆ อย่างเช่น งานก่อ จะใช้ปูนซีเมนต์ผสม (Mix Cement) ที่มีคุณสมบัติเหนียว…

คอนกรีตผสมเสร็จ vs ผสมปูนเอง แบบไหนคุ้มค่า แข็งแรง

ในปัจจุบันนี้คอนกรีตมีความสำคัญกับงานก่อสร้างค่อนข้างมากพอสมควร เมื่อเปรียบเทียบวัสดุก่อสร้างที่ใช้งานในประเภทเดียวกัน เช่น ไม้ ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างหลักในสมัยก่อนและปัจจุบันไม้เป็นของหายาก พบว่า คอนกรีตมีความคงทน แข็งแรง สามารถปรับปรุงส่วนผสมเพื่อให้ตรงกับการใช้งานได้อย่างเหมาะสม คอนกรีตจึงเป็นวัสดุที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าจะเลือกใช้สูตรไหน ระหว่างคอนกรีตผสมเสร็จ หรือ ผสมปูนใช้เอง คอนกรีต คืออะไร คอนกรีต เป็นวัสดุผสมที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (เช่น หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ โดยอาจจะมีสารเคมีเติมเพิ่มเข้าไปสำหรับคุณสมบัติด้านอื่น เมื่อผสมเสร็จคอนกรีตจะแข็งตัวอย่างช้าๆ ซึ่งน้ำและซีเมนต์จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกันในลักษณะที่เรียกว่าการไฮเดรชัน โดยซีเมนต์จะเริ่มจับตัวกับวัสดุอื่นและแข็งตัว ซึ่งในสถานะนี้จะนิยมเรียกกันว่าคอนกรีต ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ผสม และยังแข็งแรงขึ้นภายหลังจากการแข็งตัว โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจะเริ่มคงที่ ทำไมคอนกรีต จึงแข็งแรง คอนกรีตมีใช้กันในงานก่อสร้างหลายชนิด ซึ่งรวมถึง อาคาร ถนน เขื่อน สะพาน อนุสาวรีย์ และงานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งมีเห็นได้ทั่วไป คุณสมบัติหลักของคอนกรีตคือการรับแรงอัดสูง ในขณะที่สามารถรับแรงดึงได้ต่ำ (ประมาณ…

คอนกรีตผสมเสร็จ “เทใต้น้ำ” ทำได้ไหม

คอนกรีตผสมเสร็จ จัดว่าเป็นหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่เป็นหัวใจสำคัญในงานก่อสร้างทั้งขนาดเล็กจนไปถึงใหญ่ โดยคอนกรีตผสมเสร็จทั่วไปจะมีส่วนผสมหลัก ๆ ตามธรรมชาติก็คือ หิน กรวด และทราย ผสมกับน้ำยาทางเคมีที่ทำให้มีคุณสมบัติเป็นของเหลวในช่วงเวลาหนึ่ง และเกิดการแข็งตัวเป็นโครงสร้างมีแข็งแรงตามแบบที่กำหนดไว้ การใช้งานคอนกรีตผสมเสร็จโดยทั่วไปเรามักจะคุ้นเคยกับงานก่อสร้างตามไซต์งานที่อยู่บนภาคพื้นดินอยู่บ่อยครั้ง หรือถ้าต้องการเทคอนกรีตในบริเวณที่มีน้ำขังก็จะทำการสูบน้ำออกก่อน แล้วถึงเทคอนกรีตภายหลัง แต่เชื่อว่าพี่ ๆ หลายคนคงเคยได้ยินว่า คอนกรีตผสมเสร็จ สามารถเทใต้น้ำได้ ซึ่งจะทำไปทำไม ลองตามมาดูกัน ทำไมต้องเท คอนกรีตผสมเสร็จ ในน้ำ ? อย่างที่บอกว่าโดยทั่วไปเรามักเห็นการใช้งานคอนกรีตผสมเสร็จกับงานก่อสร้างตามภาคพื้นดินที่เห็นด้วยตา ทำให้เราติดภาพและเกิดความคุ้นชินกับการใช้งานคอนกรีตในลักษณะแบบนั้น แต่จะมีงานก่อสร้างบางประเภทที่เราต้องเทคอนกรีตลงไปใต้น้ำ เพราะไม่สามารถสูบน้ำออกไปได้ หรือทำไปแล้วก็ไม่คุ้มค่า ซึ่งจะขอยกตัวอย่างง่าย ๆ เลยก็คืองานตอม่อสะพาน บางครั้งเราก็ต้องเทฐานตอม่อใต้น้ำไปแบบนั้นจริง ๆ ครับ นอกจากงานตอม่อสะพานแล้วก็ยังมีงานเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ อย่างเช่น การก่อสร้างตึกสูง หรือที่คุ้นตาอยู่เป็นประจำในตอนนี้ ก็คือการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั่นเอง ซึ่งการใช้เสาเข็มใหญ่ขนาดนี้ต้องเจาะพื้นดินไปลึกมาก ๆ จนถึงชั้นที่มีแหล่งน้ำใต้ดิน ข้อจำกัดของการเทคอนกรีตผสมเสร็จใต้น้ำ มีอะไรบ้าง ? โดยปกติการเทคอนกรีตผสมเสร็จในงานทั่วไป จะมีการเข้าไม้แบบ ผูกเหล็ก เทคอนกรีต จี้และปาดปูน แต่ถ้าต้องเทคอนกรีตใต้น้นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะเราไม่สามารถมองเห็นหรือจัดการกับคอนกรีตด้วยคนใต้น้ำได้ การตรวจสอบในจุดที่เทก็ทำได้ยาก ดังนั้งจึงต้องวางแผนและทำทุกอย่างตามประบวนการให้ถูกต้องอย่างแม่นยำ เพื่อลดปัญหาในขณะเทให้ได้มากที่สุด หากใช้คอนกรีตผสมเสร็จตามที่ใช้อยู่ทั่วไป…

ความสำคัญของคอนกรีต

1.ความสำคัญของคอนกรีต บทนำ                 เนื่องจากปัจจุบันคอนกรีตมีสำคัญกับงานก่อสร้างซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศ     เมื่อเปรียบเทียบวัสดุก่อสร้างที่ใช้งานในประเภทเดียวกัน เช่น ไม้  ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างหลักในสมัยก่อนและปัจจุบันไม้เป็นของหายาก พบว่า คอนกรีตมีความคงทน  แข็งแรง  สามารถปรับปรุงส่วนผสมเพื่อให้ตรงกับการใช้งานได้อย่างเหมาะสม  คอนกรีตจึงเป็นวัสดุที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย 2.หลักการ คอนกรีต เป็นวัสดุผสมที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (เช่น หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ โดยอาจจะมีสารเคมีเติมเพิ่มเข้าไปสำหรับคุณสมบัติด้านอื่น เมื่อผสมเสร็จคอนกรีตจะแข็งตัวอย่างช้าๆ ซึ่งน้ำและซีเมนต์จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกันในลักษณะที่เรียกว่าการไฮเดรชัน โดยซีเมนต์จะเริ่มจับตัวกับวัสดุอื่นและแข็งตัว ซึ่งในสถานะนี้จะนิยมเรียกกันว่าคอนกรีต ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหลังจากที่ผสม และยังแข็งแรงขึ้นภายหลังจากการแข็งตัว โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจะเริ่มคงที่ คอนกรีตมีใช้กันในงานก่อสร้างหลายชนิด ซึ่งรวมถึง อาคาร ถนน เขื่อน สะพาน อนุสาวรีย์ และงานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งมีเห็นได้ทั่วไป คุณสมบัติหลักของคอนกรีตคือการรับแรงอัดสูง ในขณะที่สามารถรับแรงดึงได้ต่ำ (ประมาณ 10% ของแรงอัด) โดยเมื่อต้องการให้คอนกรีตสามารถรับแรงดึง จะมีการเสริมวัสดุอื่นเพิ่มเข้าไปในคอนกรีตโดยจะเรียกว่า คอนกรีตเสริมแรง หรือคอนกรีตเสริมเหล็กที่เรียกกัน (โดยเสริมแรงด้วยเหล็ก) วัสดุเหล่านี้จะช่วยรับแรงดึงภายในคอนกรีต ซึ่งงานโครงสร้างอาคารส่วนใหญ่นิยมใช้คอนกรีตเสริมแรงแทนที่คอนกรีตเปลือย นอกจากนี้ในงานก่อสร้างยังมีการใช้วิธีการที่เรียกว่า คอนกรีตอัดแรง โดยทำการใส่แรงเข้าไปในคอนกรีตหล่อสำเร็จที่ หล่อมาจากโรงงาน โดยเมื่อนำไปใช้งาน แรงที่ใส่เข้าไปในคอนกรีตจะหักล้างกับน้ำหนักของตัวคอนกรีตเองและน้ำหนักที่ เพิ่มขึ้นมา ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้คอนกรีตสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มมากขึ้น โดยงานสะพานและทางยกระดับ นิยมใช้คอนกรีตอัดแรงคอนกรีต จะมีสัดส่วนปูนซีเมนต์ต่อทราย ต่อหิน ดังนี้ สัดส่วน 1 : 1.5 :…

การใช้เศษโฟมเก่าในคอนกรีตบล็อกประดับ

ปัจจุบันในประเทศไทยมีเศษโฟมเก่าเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาทางมลภาวะที่สำคัญของประเทศ หาก สามารถนำเศษโฟมเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่ จะเป็นการลดปริมาณขยะลงได้ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการนำเศษโฟมเก่ามาผสมกับ คอนกรีตแทนที่มวลรวมหยาบและมวลรวมละเอียด ในการทำคอนกรีตบล็อกประดับ จากผลการวิจัยการผลิตคอนกรีตบล็อกประดับ ปรากฏว่าได้อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ ปูนซีเมนต์ : ทราย : โฟม เท่ากับ 1:0.5:4 และ อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ 0.5 ความดันประมาณ 275 กก/ซม2 จะได้ความหนาแน่น ประมาณ 1400 กก/ม3 ผล การทดสอบที่อายุ 28 วัน ปรากฏว่า ได้ค่ากำลังอัดเฉลี่ยเท่ากับ 58.92 กก/ซม2 ความหนาแน่นเฉลี่ยเท่ากับ 1416.5 กก/ม3 ค่าการดูดซึมน้ำเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 7.73 และใช้ความดันในการอัดขึ้นรูปที่ 275 กก/ซม2 ผลการทดสอบการนำความร้อน ได้ค่า การนำความร้อนเท่ากับ 0.0367 วัตต์/เมตร.เคลวิน และ ค่าความต้านทานความร้อนเท่ากับ 27.24 เมตร.เคลวิน/วัตต์ จากผลการวิจัยสรุปคุณสมบัติของคอนกรีตบล็อกประดับได้ว่า เป็นวัสดุก่อสร้างผนังที่มีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนัก ได้…

คอนกรีต 5 ประเภท รู้ไว้ใช่ว่า

“คอนกรีต” หรือที่คนภายนอกวงการก่อสร้างว่า “ปูน” เป็นวัสดุที่ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จึงทำให้ทุกวันนี้มีคอนกรีตมากมายหลายประเภท ความรู้ด้านคอนกรีตเป็นสาขาหนึ่งที่เรียกว่า “Concrete Technology” ซึ่งผู้เรียนเป็นวิศวกรโยธาต้องศึกษาเพื่อนำมาใช้งาน การจะใช้งานคอนกรีตต้องทำให้อยู่ในสภาพเหลว (โดยการผสมน้ำ) เพื่อที่จะได้เทลงในแบบหล่อให้เป็นรูปร่างต่างๆ เมื่อแข็งตัวและแกะแบบหล่อออกก็สามารถใช้เป็นโครงสร้างรับแรงตามที่วิศวกรออกแบบ และเมื่อนำเหล็กซึ่งรับแรงอัดและแรงดึงได้มากมาประกอบกัน ก็จะได้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้งานได้ตามต้องการ การที่คอนกรีตแบ่งได้หลายประเภทเนื่องจาก “ผงซีเมนต์” ที่เป็นส่วนผสมหนึ่งของคอนกรีตได้ถูกผลิตขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์หรือประโยชน์ใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งทั่วไปมีถึง 5 ประเภท เรียกเป็นซีเมนต์ประเภท 1, ประเภท 2 จนถึงประเภท 5 5 ประเภทคอนกรีตเหมาะกับงานแบบไหน โดยซีเมนต์ที่ใช้ทำคอนกรีตโครงสร้างทั่วไปคือประเภท 1 ซีเมนต์ประเภท 3 หรือซีเมนต์ประเภท 5 คือ ซีเมนต์สำหรับโครงสร้างที่ต้องการให้มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง เช่น โครงสร้างที่อยู่ใกล้ทะเลหรือโครงสร้างที่อยู่ในทะเล รวมถึงโครงสร้างที่จมอยู่ในน้ำ ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้ต้องสามารถทนการกัดกร่อนได้สูง นี่คือตัวอย่างของซีเมนต์ที่ถูกแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ให้ตรงกับการใช้งาน แต่ยังมีซีเมนต์อีกประเภทหนึ่งที่ไม่เหมาะกับการใช้ทำโครงสร้างเนื่องจากให้กำลังอัดที่ต่ำ แต่ถูกผลิตขึ้นมาให้เหมาะสำหรับทำงานก่อฉาบเท่านั้น ดังนั้นซีเมนต์ที่ขายทั่วไปตามร้านขายวัสดุก่อสร้างมักจะมีเพียง 2 ประเภท คือซีเมนต์ประเภท 1 (Portland Cement) สำหรับงานโครงสร้าง และอีกประเภทที่สำหรับใช้ทำงานก่อฉาบ ผมขอยกตัวอย่างให้ท่านผู้อ่านได้ทราบ…

คอนกรีตผสมเสร็จ คือ

คอนกรีต คือ วัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการก่อสร้าง อาคาร และ สาธารณุปโภค ต่างๆ ตั้งแต่ ขนาดใหญ่ จนถึง ขนาดเล็ก เช่น อาคาร บ้านเรือน สะพาน และ เขื่อน ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสม 2 ส่วนคือ วัดสุประสาน ได้แก่ ปูนซีเมนต์และน้ำ ผสมกับ วัสดุผสม ได้แก่ ทราย หิน หรือ กรวด และสารผสมเพิ่มต่างๆ เมื่อนำมาผสมกันจะคงสภาพเหลวอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งนานพอที่จะนำไปเทลงในแบบหล่อที่มีรูปร่างตามต้องการ เมื่อคอนกรีตแข็งตัวเต็มที่แล้ว จะมีความแข็งแรงและสามารถรับน้ำหนักได้มาก ทั้งนี้จะแปรไปตามอายุของคอนกรีต ที่เพิ่มขึ้น ช่วงที่วัสดุต่างๆผสมกันจะคงสภาพเหลวอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง เราเรียกคอนกรีตช่วงนี้ว่า คอนกรีตสด (Fresh concrete)หลังจากเทเข้าแบบคอนกรีตจะเริ่มก่อตัวและแข็งตัวขึ้นตามลำดับจนถึงสภาพที่ใช้งานได้ โดยในช่วงของการก่อตัวและแข็งตัว แล้ว เราเรียกว่าคอนกรีตแข็งตัว (Hardened concrete) คอนกรีต โดยทั่วไปประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ น้ำ มวลรวม และ สารผสมเพิ่ม…